แชร์

มาทำความเข้าใจเรื่องของแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานฮีตเตอร์

อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2025
6 ผู้เข้าชม
มาทำความเข้าใจเรื่องของแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานฮีตเตอร์

หากอธิบายกันตามหลักการทำงานเบื้องต้นของฮีตเตอร์นั่นคือจะต้องมีการส่งพลังงานไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำ หรือตัวต้านทาน R ไปสู่ขดลวดจนเกิดเป็นความร้อนแผ่ขยายหรือกระจายออกไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่านั่นเอง จากข้อมูลตรงนี้จึงเห็นว่าพลังงานความร้อนของฮีทเตอร์และวัตถุที่เกิดขึ้นมีจุดเริ่มต้นมาจากพลังงานไฟฟ้า จึงอยากพาทุกคนมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแรงดันไฟฟ้าสำหรับใช้กับ Heater ทุกประเภทว่าเป็นอย่างไรบ้าง

รู้จักกับแรงดันไฟฟ้ากันสักนิด

แรงดันไฟฟ้า คือ แรงดันซึ่งทำหน้าที่ในการผลักดันไฟฟ้าไปยังจุดต่าง ๆ เมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นกระแสไฟจะถูกส่งผ่านไปยังปลายทางมากขึ้นผ่านตัวกลาง เช่น สายไฟ ลวดเหล็ก ปริมาณแรงดันไฟฟ้าจะใช้การแสดงหน่วยเป็นโวลต์ (V) การผลักดันกระแสไฟจำเป็นต้องควบคุมตามปริมาณที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับของปลายทาง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งระบบเอาได้ง่าย ๆ เลย

ความแตกต่างของฮีตเตอร์ในแต่ละแรงดันไฟฟ้า

แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความร้อนเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วการใช้แรงดันไฟฟ้าของฮีตเตอร์จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ อุปกรณ์ที่ใช้ นั่นบ่งบอกว่าแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 24 โวลต์ ไปจนถึง 380 โวลต์ ย่อมเกิดความแตกต่างอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งสิ่งที่เห็นชัดเจนสุดคือลวดฮีตเตอร์ที่อยู่ด้านในสายฮีตเตอร์จะเป็นคนละขนาด ดังนั้นผู้ที่ทำการผลิตฮีตเตอร์ต้องคำนวณเพื่อหาค่าความต้านทานของลวดที่เหมาะสมกับการนำมาสู่กระบวนการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ตามสูตร V และ W ; P= E²/ R ซึ่งจากสูตรดังกล่าวแสดงให้เห็นระดับความต้านทานที่แตกต่างกันของขดลวดฮีตเตอร์ ได้แก่

-          ฮีตเตอร์ขนาด 24V-1000W มีค่าความต้านทาน 0.57 โอห์ม

-          ฮีตเตอร์ขนาด 110V-1000W มีค่าความต้านทาน 12.10 โอห์ม

-          ฮีตเตอร์ขนาด 220V-1000W มีค่าความต้านทาน 48.40 โอห์ม

-          ฮีตเตอร์ขนาด 380V-1000W มีค่าความต้านทาน 144.40 โอห์ม

ข้อควรระวังด้านแรงดันไฟฟ้าเมื่อนำฮีตเตอร์ไปใช้งาน

สิ่งสำคัญคือการนำฮีตเตอร์ไปใช้งานจะต้องเชื่อมต่อกับวัตถุปลายทางและขดลวดที่สามารถรับขนาดแรงดันไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกไปได้ ไม่เช่นนั้นมีโอกาสส่งผลเสียต่อกำลังวัตต์ที่เกิดขึ้น รวมถึงโอกาสที่ฮีทเตอร์จะได้รับผลกระทบจนเสียหายมีสูง เช่น

ฮีตเตอร์กำลังวัตต์ 380 วัตต์ ถ้าใช้กับงานแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ กำลังไฟฟ้าจะเหลือ 335 วัตต์ (จากสูตร P = 220² / 144.4 ; P = 335 W) ความร้อนที่ฮีตเตอร์ได้รับจึงไม่เต็มกำลัง ส่วนฮีทเตอร์ที่ใช้แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ กำลังไฟฟ้า 1,000 วัตต์ แต่ใช้แรงดันไฟฟ้าสูงถึง 380 โวลต์ กำลังไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นแต่ระดับ 3,000 วัตต์ (จากสูตร P = 380² / 48.4 ; P = 2,983 W) สิ่งที่เกิดคือ Heater มีโอกาสเกิดความเสียหายจากจำนวนวัตต์ที่เพิ่มขึ้น เพราะลวดภายในไม่สามารถทนต่อการใช้งานเมื่อเจอพลังไฟฟ้าสูง

เข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าที่ถูกใช้กับฮีตเตอร์กันแล้ว หากใครสนใจ Heater คุณภาพ บริษัท ซีคเทค จำกัด ผู้ชำนาญด้านการผลิตฮีทเตอร์ชั้นนำของเมืองไทย มีหลากรุ่น หลายรูปแบบ สามารถเลือกสรรได้ด้วยราคาอันน่าคบหา คุ้มค่าแน่นอน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy