แชร์

ประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลอื่น ๆ ที่น่าสนใจและการนำไปใช้งาน

อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2025
7 ผู้เข้าชม
ประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลอื่น ๆ ที่น่าสนใจและการนำไปใช้งาน

ปกติแล้วการแบ่งประเภทเทอร์โมคัปเปิ้ลจะเลือกใช้เกณฑ์ด้านวัสดุที่ผลิตมาเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งบทความก่อนหน้าได้มีการพูดถึงการแบ่งประเภทของวัสดุ Nickle Alloy กันไปแล้ว สำหรับบทความนี้ก็ยังมีประเภทของ Thermocouple ที่ถูกแบ่งออกมาอีก 2 ประเภท ได้แก่ Platinum / Rhodium Alloy และ Tungsten / Rhenium Alloy มาไล่เรียงถึงความน่าสนใจและการนำไปใช้งานได้เลย

ประเภทเทอร์โมคัปเปิ้ล Platinum / Rhodium Alloy

เทอร์โมคัปเปิ้ลจากกลุ่มวัสดุประเภทนี้จะมีความเสถียรในการวัดอุณหภูมิ แต่ให้ความไวต่ำ ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิอ (10µV/°C) เหมาะกับการวัดอุณหภูมิด้านสูง ทั้งนี้ราคาของสินค้าก็มักสูงตามด้วยเช่นกัน

1. Type B

วัสดุหลักคือ Pt / Rh (70% / 30%) Pt / Rh (94% / 6%) นิยมใช้กับงานอุณหภูมิสูง เช่น เตาเผาเซรามิก ช่วงอุณหภูมิที่ใช้ระหว่าง 50 ถึง 1,800 องศาเซลเซียส เพราะ EMF ช่วงอุณหภูมิต่ำมีน้อยมากจนแทบวัดไม่ได้ นั่นหมายถึงจุดอ้างอิงอุณหภูมิของ Thermocouple ประเภทนี้ทำได้ง่ายมาก แค่กำหนดค่าคงที่ขึ้นมาแล้วอ้างอิงกับค่าอุณหภูมิห้องได้เลย

2. Type S

วัสดุหลักคือ Pt / Rh (90% / 10%) Pt สามารถวัดอุณหภูมิสูงสุด 1,600 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ITS-90 ระบุช่วงการใช้งานของ Thermocouple ประเภทดังกล่าวช่วงระหว่าง 630~1,064 องศาเซลเซียส ตอบโจทย์กับการใช้เป็นตัวมาตรฐานสอบเทียบในห้องปฏิบัติการ

3. Type R

วัสดุหลักคือ Pt / Rh (87% / 13%) Pt นิยมใช้กับงานอุณหภูมิสูงเช่นกัน สามารถวัดอุณหภูมิสูงสุด 1,600°C ได้รับความนิยมแทบไม่ต่างกับ Type S

ประเภทเทอร์โมคัปเปิ้ล Tungsten / Rhenium Alloy

จริง ๆ แล้วเทอร์โมคัปเปิ้ลตั้งแต่กลุ่ม Nickle Alloy จนถึง Platinum / Rhodium Alloy มักไม่ค่อยนิยมใช้กับสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง อุณหภูมิสูง หรือการกัดกร่อนหนักเกินไป แต่กับประเภท Tungsten / Rhenium Alloy มีจุดเด่นในด้านการใช้งานกับอุณหภูมิสูงระดับ 2,315 องศาเซลเซียส และยังเพิ่มช่วงวัดได้ 2,760 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศของก๊าซเฉื่อย (Inert Atmosphere) เช่น บรรยากาศของก๊าซไนโตรเจน ไปจนถึงระดับ 3,000 องศาเซลเซียส สำหรับกรณีการวัดค่าแบบคร่าว ๆ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

-          Type C วัสดุหลักทำจาก W / Re (95% / 5%) W / Re (74% / 26%)

-          Type D วัสดุหลักทำจาก W / Re (97% / 3%) W / Re (75% / 25%)

-          Type G วัสดุหลักทำจาก W W / Re (74% / 26%)

ทั้งหมดนี้คือประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่แบ่งย่อยออกมาอีก 2 ประเภท นั่นคือ Platinum / Rhodium Alloy และ Tungsten / Rhenium Alloy ซึ่งใครที่สนใจใช้งาน Thermocouple รวมถึงกลุ่มอุปกรณ์ฮีตเตอร์ อุปกรณ์ทำความร้อน และวัดอุณหภูมิต่าง ๆ บริษัท ซีคเทค จำกัด ผู้นำด้านการผลิตฮีตเตอร์ชั้นนำของเมืองไทย สินค้าทุกชิ้นผ่านมาตรฐานในระดับสากล ขายด้วยราคาสุดคุ้มค่า ตอบโจทย์การใช้งานในทุกอุตสาหกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy