จำแนกประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ทำจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย
อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2025
6 ผู้เข้าชม
จำแนกประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ทำจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย
เทอร์โมคัปเปิ้ลถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในหลากวงการทั้งกลุ่มงานวิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรม การเก็บรักษาวัตถุดิบ และอื่น ๆ ซึ่งปกติแล้ววัสดุหลักที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์ชนิดนี้คือกลุ่ม นิกเกิลกับอัลลอย (Nickle Alloy) (แต่จริง ๆ ก็ยังมีวัสดุประเภทอื่นด้วย) ในบทความนี้จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Thermocouple Nickle Alloy ว่ามีกี่ประเภท และมีจุดเด่นในเรื่องใดบ้าง
เทอร์โมคัปเปิ้ลที่ผลิตจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย มีอะไรบ้าง
1. Type E
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Chromel Constantan ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิสูง (68µV/°C) นิยมใช้สำหรับวัดอุณหภูมิต่ำ เช่น การแช่แข็ง การเก็บรักษาของที่ต้องใช้ความเย็น มีช่วงกว้างของการวัดอุณหภูมิระหว่าง -50 ถึง +740 องศาเซลเซียส และช่วงแคบ -110 ถึง +140 องศาเซลเซียส คุณสมบัติแม่เหล็กไม่สามารถดูดติด (Non Magnetic)
2. Type K
นี่คือเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ได้รับความนิยม วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Chromel Alomel ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (41µV/°C) นิยมใช้วัดอุณหภูมิระดับกลาง - สูง ช่วงการวัดระหว่าง -200 ถึง +1,350 องศาเซลเซียส
3. Type J
เป็นประเภทเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ได้รับความนิยมเช่นกัน วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Iron Constantan ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (50µV/°C) นิยมใช้สำหรับวัดอุณหภูมิกลาง ๆ มีช่วงกว้างของการวัดอุณหภูมิระหว่าง -4 ถึง +750องศาเซลเซียส ซึ่งจะแคบกว่า Type K แต่มีความเร็วในการวัด รวมถึงการเป็นเชิงเส้นสูงกว่า Type K
4. Type M
วัสดุหลักคือ Ni/Mo (82%/18%) Ni/Co (99.2%/0.8%) นิยมใช้วัดและควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาแบบสุญญากาศ เพราะโครงสร้างวัสดุของ Thermocouple ประเภทนี้ไม่ค่อยทนต่อการเกิดออกซิเดชันในอุณหภูมิสูงมากนัก สามารถใช้งานกับอุณหภูมิสูงสุดได้ไม่เกิน 1,400 องศาเซลเซียส
5. Type N
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Nicrosil Nisil ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (39µV/°C ที่ 900 องศาเซลเซียส) นิยมใช้กับการวัดอุณหภูมิกลาง ๆ มีช่วงการวัดระหว่าง -270 ถึง +1,300 องศาเซลเซียส จุดเด่นคือ ทนต่อการเกิดออกซิเดชัน ใช้งานได้อย่างแข็งแกร่ง ทนทาน เพราะได้รับการออกแบบโดยองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมของออสเตรเลีย สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดกับวัสดุที่ใช้ทำเซ็นเซอร์สร้างสัญญาณ EMF ไม่คงที่
6. Type T
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Copper Constantan ได้รับความนิยมในการใช้งานมากเช่นกัน ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิสูง (43µV/°C) ด้วยการมีทองแดงเป็นส่วนผสมจึงนำความร้อนได้ดี นิยมใช้วัดอุณหภูมิด้านต่ำ เช่น ห้องเย็น การแช่แข็ง การเก็บรักษาวัตถุดิบ ช่วงการวัดอุณหภูมิระหว่าง 200 ถึง +350 องศาเซลเซียส คุณสมบัติแม่เหล็กไม่สามารถดูดติด (Non Magnetic)
ทั้งหมดนี้คือประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ผลิตจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย (Thermocouple Nickle Alloy) หากโรงงานหรือหน่วยงานใดสนใจซื้อหาไว้ใช้งาน บริษัท ซีคเทค จำกัด ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายฮีตเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์วัด ควบคุมอุณหภูมิ และอุปกรณ์ความร้อน พร้อมเป็นผู้ช่วยให้การนำไปใช้งานมีคุณภาพ ราคาคุ้มค่า สอบถามได้ทันที
เทอร์โมคัปเปิ้ลถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในหลากวงการทั้งกลุ่มงานวิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรม การเก็บรักษาวัตถุดิบ และอื่น ๆ ซึ่งปกติแล้ววัสดุหลักที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์ชนิดนี้คือกลุ่ม นิกเกิลกับอัลลอย (Nickle Alloy) (แต่จริง ๆ ก็ยังมีวัสดุประเภทอื่นด้วย) ในบทความนี้จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Thermocouple Nickle Alloy ว่ามีกี่ประเภท และมีจุดเด่นในเรื่องใดบ้าง
เทอร์โมคัปเปิ้ลที่ผลิตจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย มีอะไรบ้าง
1. Type E
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Chromel Constantan ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิสูง (68µV/°C) นิยมใช้สำหรับวัดอุณหภูมิต่ำ เช่น การแช่แข็ง การเก็บรักษาของที่ต้องใช้ความเย็น มีช่วงกว้างของการวัดอุณหภูมิระหว่าง -50 ถึง +740 องศาเซลเซียส และช่วงแคบ -110 ถึง +140 องศาเซลเซียส คุณสมบัติแม่เหล็กไม่สามารถดูดติด (Non Magnetic)
2. Type K
นี่คือเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ได้รับความนิยม วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Chromel Alomel ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (41µV/°C) นิยมใช้วัดอุณหภูมิระดับกลาง - สูง ช่วงการวัดระหว่าง -200 ถึง +1,350 องศาเซลเซียส
3. Type J
เป็นประเภทเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ได้รับความนิยมเช่นกัน วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Iron Constantan ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (50µV/°C) นิยมใช้สำหรับวัดอุณหภูมิกลาง ๆ มีช่วงกว้างของการวัดอุณหภูมิระหว่าง -4 ถึง +750องศาเซลเซียส ซึ่งจะแคบกว่า Type K แต่มีความเร็วในการวัด รวมถึงการเป็นเชิงเส้นสูงกว่า Type K
4. Type M
วัสดุหลักคือ Ni/Mo (82%/18%) Ni/Co (99.2%/0.8%) นิยมใช้วัดและควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาแบบสุญญากาศ เพราะโครงสร้างวัสดุของ Thermocouple ประเภทนี้ไม่ค่อยทนต่อการเกิดออกซิเดชันในอุณหภูมิสูงมากนัก สามารถใช้งานกับอุณหภูมิสูงสุดได้ไม่เกิน 1,400 องศาเซลเซียส
5. Type N
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Nicrosil Nisil ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิ (39µV/°C ที่ 900 องศาเซลเซียส) นิยมใช้กับการวัดอุณหภูมิกลาง ๆ มีช่วงการวัดระหว่าง -270 ถึง +1,300 องศาเซลเซียส จุดเด่นคือ ทนต่อการเกิดออกซิเดชัน ใช้งานได้อย่างแข็งแกร่ง ทนทาน เพราะได้รับการออกแบบโดยองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมของออสเตรเลีย สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดกับวัสดุที่ใช้ทำเซ็นเซอร์สร้างสัญญาณ EMF ไม่คงที่
6. Type T
วัสดุหลักจะเป็นกลุ่ม Copper Constantan ได้รับความนิยมในการใช้งานมากเช่นกัน ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิสูง (43µV/°C) ด้วยการมีทองแดงเป็นส่วนผสมจึงนำความร้อนได้ดี นิยมใช้วัดอุณหภูมิด้านต่ำ เช่น ห้องเย็น การแช่แข็ง การเก็บรักษาวัตถุดิบ ช่วงการวัดอุณหภูมิระหว่าง 200 ถึง +350 องศาเซลเซียส คุณสมบัติแม่เหล็กไม่สามารถดูดติด (Non Magnetic)
ทั้งหมดนี้คือประเภทของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ผลิตจากโลหะกลุ่มนิกเกิล อัลลอย (Thermocouple Nickle Alloy) หากโรงงานหรือหน่วยงานใดสนใจซื้อหาไว้ใช้งาน บริษัท ซีคเทค จำกัด ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายฮีตเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์วัด ควบคุมอุณหภูมิ และอุปกรณ์ความร้อน พร้อมเป็นผู้ช่วยให้การนำไปใช้งานมีคุณภาพ ราคาคุ้มค่า สอบถามได้ทันที